พื้นที่

                กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดกรอบการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในรูปแบบเขตสุขภาพในรูปแบบเขตสุขภาพ เพื่อให้แต่ละเขตสุขภาพ มีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุม 4- 8 จังหวัด และเพื่อให้การดำเนินงานเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืน เป็นรูปธรรมและสร้างระบบบริหารจัดการที่มีเอกภาพ ทั้งนี้โดยมีสำนักงานเขตุสภาพที่ 1- 12 เป็นหน่วยราชการส่วนกลางที่มีที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค มีฐานะเทียบเท่ากอง ในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตามคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 114/2558 เรื่องการจัดตั้งสำนักงานเขตสุขภาพ

                 เขตสุขภาพที่ 12 ตั้งอยู่ภาคใต้ตอนล่าง ประกอบด้วย 7 จังหวัด คือ จังหวัดตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา เขตสุขภาพที่ 12 มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรที่มีทะเลขนาบทั้งสองด้าน คือ ฝั่งตะวันออกด้านอ่าวไทย ได้แก่ จังหวัดสงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ฝั่งตะวันตกด้านอันดามัน ได้แก่ จังหวัดตรัง สตูล  ทิศเหนือติดพื้นที่จังหวัดในเขตสุขภาพที่ 11 และทิศใต้ติดกับประเทศมาเลเซีย

                  พื้นที่ในเขตสุขภาพที่ 12 เป็นแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ  เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน  มีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม คือ มีฝนตกชุกสลับกับฤดูแล้งสั้นๆ จากสภาพที่มีความจำเพาะทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ทำให้ภาคใต้ตอนล่าง เป็นสังคมที่มีความแตกต่าง หลากหลายทั้งทางเชื้อชาติ ภาษาศาสนา และวัฒนธรรมประเพณี ที่แตกต่างจากภาคอื่นๆ ของประเทศ เช่น วัฒนธรรมการแต่งกาย  การใช้ภาษายาวีเป็นภาษาพื้นเมือง และประเพณีถือศีลอด ในเดือนรอมฎอนของชาวไทยมุสลิม ประเพณีถือศีลกินเจของคนไทยเชื้อสายจีน และประเพณีชักพระ ของชาวไทยพุทธ  เป็นต้น

รูปที่ 1 แผนที่จังหวัดในเขตสุขภาพที่ 12

สำหรับศูนย์กลางในการบริหารจัดการเขตสุขภาพที่ 12  มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ ๑๖๑/๑ ชั้น 2 อาคารมหิดล ถนนรามวิถี ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

จังหวัดตรัง

มีพื้นที่ทั้งสิ้น 4,917.519 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่เลียบชายฝั่งเลียบมหาสมุทรอินเดียทางทิศตะวันตก

ลักษณะภูมิประเทศ

โดยทั่วไปจะเป็นเนินสูงๆต่ำๆ สลับกับภูเขาใหญ่เล็กกระจายอยู่ทั่วไป ทางทิศตะวันออกมีเทือกเขาบรรทัดยาวจากเหนือจรดใต้ มีพื้นที่เป็นเกาะจำนวน 46 เกาะ

ลักษณะภูมิอากาศ

มี 2 ฤดูซึ่งได้แต่ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน และฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน อุณหภูมิเฉลี่ยคือ 27.67 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยคือ 33.42 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย23.67องศาเซลเซียส

ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่สวนใหญโดยทั่วไปจะเปนเนินสูงต่ำ สลับดวยภูเขาใหญเล็กกระจัดกระจายอยูทั่วไปพื้นที่ราบเรียบมีจํานวนนอยซึ่งใชเปนแหลงเพาะปลูกขาว ทางทิศตะวันออกมีเทือกเขาบรรทัดยาวจากตอนเหนือจดตอนใต และเปนแนวเขตแบงจังหวัดตรังกับจังหวัดพัทลุง ลักษณะดินสวนใหญเปนดินรวนปนทรายสภาพปาเปนปาดิบชื้น มีปาชายเลนสําหรับทองที่ที่อยูติดกับทะเล มีพื้นที่เปนเกาะจํานวน 46 เกาะ อยูในพื้นที่อําเภอกันตัง 12 เกาะ อําเภอปะเหลียน 13 เกาะ และอําเภอสิเกา 21 เกาะ

 

รูปที่ 3 แผนที่จังหวัดในจังหวัดตรัง

พัทลุง

อยู่ทางทิศตะวันออกของภาคใต้ของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ที่ 3,424 ตารางกิโลเมตร           มีประชากรทั้งหมด 522,729 คน ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 846 กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ

มีลักษณะพื้นที่ภูเขาเป็นเทือกเข้าที่มียอดสูงสลับต่ำ มีความสูงเฉลี่ย 800 เมตร มีพื้นที่ราบประมาณ1,485.54 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ประชาชนของจังหวัดนิยมตั้งถิ่นฐานกันบริเวณนี้

สภาพภูมิอากาศ

จังหวัดพัทลุงตั้งอยู่ในเขตมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้มีสภาพอากาศแบบภาคใต้อยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมที่พัดปกคลุมประจ าฤดูกาล ท าให้ในปีหนึ่ง ๆ จะมีเพียง 2 ฤดูกาล คือ

1. ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม – กลางเดือนกันยายน ความร้อนและความอบอ้าวของอากาศมีสูงสุดในช่วงเดือนมิถุนายน โดยมีอุณหภูมิสูงสุดประมาณ 35.4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 24.0 องศาเซลเซียส โดยในช่วง 10 ปี จังหวัดพัทลุงมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ในช่วง 27-29 องศาเซลเซียส

2.ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกันยายน – กลางเดือนมีนาคม มีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยสูงสุด 93.4%

และเฉลี่ยต่ าสุด 62.54% ปริมาณน้ าฝนจังหวัดพัทลุง มีฝนเฉลี่ยทั้งปีในช่วง 10 ปี 2,052.1 มิลลิเมตร

 

รูปที่ 4 แผนที่จังหวัดในจังหวัดพัทลุง

จังหวัดสตูล

จังหวัดสตูล เป็นจังหวัดสุดเขตแดนใต้ของประเทศไทยทางชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันตก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยเส้นทางรถยนต์ 973 กิโลเมตร

มีเนื้อที่ประมาณ 2,807.522 ตารางกิโลเมตร หรือเท่ากับ 1,754,701 ไร่ พื้นที่ส่วนที่เป็นเกาะประมาณ 105 เกาะ มีชายฝั่งทะเลยาว 144.80 กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่จังหวัดสตูลทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกเป็นเนินเขาและภูเขา พื้นที่ของจังหวัดค่อยๆ ลาดเอียงลงสู่ทะเลด้านทิศตะวันตกและทิศ มีที่ราบแคบๆ ขนานไปกับชายฝั่งทะเล

ลักษณะภูมิอากาศ

พื้นที่จังหวัดสตูลได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทย และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น มี 2 ฤดู คือ

1.) ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน

2.) ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคมอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32.72 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ย 23.51 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 38.4 องศาเซลเซียส

รูปที่ 5 แผนที่จังหวัดในจังหวัดสตูล

จังหวัดสงขลา

มีขนาดพื้นที่ 7,393.889 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่3ของภาคใต้ทางเหนือเป็คาบสมุทรยื่นลงมา ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของภำคใต้ตอนล่ำง ระหว่ำงละติจูดที่ 617 – 7 56′ เหนือ ลองติจูดที่ 100 01′ – 101 06′ ตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 4 เมตร อยู่ห่างจาก กรุงเทพมหานครตามเส้นทางรถไฟ 947 กิโลเมตร และทางหลวงแผ่นดิน 950 กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ
ทางใต้ ทิศเหนือเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ทิศตะวันออกเป็นที่ราบริมทะเล ทิศใต้และตะวันตกเป็นภูเขาและที่ราบสูง
ลักษณะภูมิอากาศ
          มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ประจำทุกปี ทำให้มีเมฆมากและฝนตกชุก ทำให้สงขลามี 2 ฤดู

           1.ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม
2. ฤดูฝน แบ่งเป็น 2ระยะ

          1.) จากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม

         2.) จากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์อุณหภูมิเฉลี่ยที่ 28.27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดที่37องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำที่สุด 28.6 องศาเซลเซียส

 

รูปที่ 2 แผนที่จังหวัดในจังหวัดสงขลา

จังหวัดปัตตานี

จังหวัดปัตตานี เป็นหนึ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย ประชาชนจึงมีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่บ่งบอกถึงความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมที่เป็นไปตามหลักคิดของศาสนาอิสลาม รวมถึงวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือปฏิบัติ โดยคงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นที่มีความเรียบง่ายในรูปของสังคมที่ยังคงความเป็นเครือญาติค่อนข้างสูง ยึดถือผู้นำศาสนาเป็นสำคัญ รูปแบบการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่นี้จะมีความเรียบง่าย และใช้หลักการศาสนาที่สอดคล้องกับหลักปฏิบัติในวิถีชีวิต มีพื้นที่ 1,940,356 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ

มีพื้นที่ราบชายฝั่งทะเล 1/3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีพื้นที่ภูเขาเป็นส่วนน้อยทางตอนใต้และทางตะวันออก

ลักษณะภูมิอากาศ

ปัตตานีตั้งอยู่ในเขตร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีลักษณะมรสุมเมืองร้อน มีฤดู 2 ฤดู

1.) ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนเมษายน

2.) ฤดูฝนแบ่งเป็น2ช่วง ช่วงแรกเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เป็นช่วงที่ดีต่อการทำเกษตรกรรม ช่วงหลังเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ซึ่งในช่วงนี้มักจะทำให้เกิดความเสียหายจากอุทกภัย น้ำป่าไหลหลากเป็นประจำ

 

รูปที่ 6 แผนที่จังหวัดในจังหวัดปัตตานี

 

 

จังหวัดนราธิวาส

มีพื้นที่ทั้งหมด 4,475.43 ตารางกิโลเมตร นราธิวาสเป็นจังหวัดชายแดนประชาชนส่วนมากนับถือศาสนาอิสลาม จังหวัดนราธิวาส เป็นจังหวัดชายแดน ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลด้านตะวันออกของแหลมมลายู ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ 1,149 กิโลเมตร และทางรถไฟ 1,116 กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่ของจังหวัดนราธิวาสเป็นป่าและภูเขาประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีภูเขาหนาแน่นแถบทิศตะวันตกเฉียงใต้จดเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งเป็นแนวกั้นพรมแดนไทย-มาเลเซีย ลักษณะของพื้นที่มีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่บริเวณติดกับอ่าวไทยและเป็นที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำ 4สาย คือ แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำตากใบ และปลายแม่น้ำโก-ลก มีพื้นที่เป็นพรุจำนวนประมาณ 361,860 ไร่

ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อน แบ่งออกเป็น 2 ฤดู

1.) ฤดูฝน แบ่งเป็น2ช่วง ช่วงแรกเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุกในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ช่วงหลังเป็นลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทำให้ฝนตกชุกในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม

2.) ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน จากลมตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้อากาศร้อนและชื้น

รูปที่ 7 แผนที่จังหวัดในจังหวัดนราธิวาส

 

จังหวัดยะลา

ที่ตั้งและขนาด จังหวัดยะลา เป็นจังหวัดที่อยูใต้สุดของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 5 – 7 องศาเหนือและเส้นแวงที่ 100 – 102 องศาตะวันออก มีพื้นที่ประมาณ 4,634 ตร.กม หรือประมาณ 2.8 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.4 ของพื้นที่ภาคใต้ อยูห่างจากกรุงเทพมหานคร ทางรถไฟสายใต้ประมาณ 1,039 กิโลเมตรและตามถนนเพชรเกษม ประมาณ 1,084 กิโลเมตร ประชาชนส่วนใหญ่รับถือศาสนาอิสลาม

ลักษณะภูมิประเทศ

มีลักษณะเป็นภูเขาเนินเขาและหุบเขาตั้งแต่ตอนกลางจนถึงใต้สุด มีที่ราบบางส่วนทางตอนเหนือของจังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าดงดิบ สวนยางพารา มีพื้นที่เป็นพรมแดนไทย-มาเลเซีย

ลักษณะภูมิอากาศ

ยะลาเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในเขตมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีฤดู 2 ฤดู

1.) ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม

2.) ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่31องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย34.50องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 28.20 องศาเซลเซียส

 

 

รูปที่ 8 แผนที่จังหวัดในจังหวัดยะลา